Social media, The 21st Century Learning, Uncategorized

8 Digital Citizenship: 8 คุณลักษณะของการเป็นพลเมืองดิจิทัล

ในระยะไม่นานมานี้ (ไม่กี่ปี) เรามักจะได้ยินคำว่า Digital หนาดูขึ้นเรื่อยๆ โดยประเทศไทยเรามักอ่านกันว่า ดิจิตอลบ้าง ดิจิเทิลบ้าง หรือ ดิจิทัลบ้าง ซึ่งศัพท์บัญญัติได้บัญญัติให้เขียรน Digital เป็น ดิจิทัล ซึ่งจะอ่านอย่างไรก็คงจะหมายถึงความเดียวกันคือ เป็นโลกใหม่ที่มีความเสมือนหรือคล้ายคลึงกับโลกของชีวิตจริง ซึ่งในโลกดิจิทัลก็มีกิจกรรมให้ทำและมีสังคมให้เข้าร่วม ไม่ต่าง (หรรืออาจจะหลากหลายมากกว่า) ในชีวิตจริง

แน่นอนการที่มนุษย์ดำรงค์หรือโลกในชีวิตจริง ย่อมต้องมีทักษะความสามารถที่จะสามารถศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติงานและประกอบอาชีพ ตลอดจนหาความสุขหรือความบันเทิงให้กับชีวิต เพื่อจะได้เป็นอยู่อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งในโลดดิจิทัลก็เช่นเดียวกับ เนื่องด้วยต้องมีการใช้สื่อใหม่ที่มีความทันสมัยและสามารถสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ไร้ขอบเขต (เรียกได้ว่าอาจจะไม่มีเชื้อชาติศาสนาเลยก็ว่าได้) มนุษย์ที่จะดำรงค์ตนในโลกดิจิทัลจึงควรต้องมีคุณลักษณะพื้นฐานในเรื่องต่างๆ โดย DQ Institute ได้ทำการวิจัย ศึกษาและสรุปคุณลักษณะพื้นฐาน (อย่างน้อยต้องมี) ของมนุษย์ที่จะอยู่ในโลกดิจิทัลได้อย่างตลอดปลอดภัย หรือเรียกว่าเป็น พลเมืองดิจิทัล โดยคุณลักษณะพื้นฐานดังกล่าวมีทั้งหมด 8 ประการ ได้แก่

[Ref: https://www.dqinstitute.org/what-is-dq/#contentblock2%5D

  1. Digital citizen identity: ความสามารถในการสร้างและจัดการในการระบุตัวตนด้วยความซื่อสัตย์ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์
  2. Screen time management: ความสามารถในการจัดการเวลาในโลกออนไลน์ การจัดการเวลาเพื่อภารกิจที่หลากหลาย และการจัดการเวลาและกำกับตัวเองในการทำกิจกรรมในสื่อสังคมออนไลน์
  3. Cyberbullying management: ความสามารถในการตรวจจับสถานการณ์การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตและจัดการกับสถานการณ์อย่างชาญฉลาด
  4. Cybersecurity management: ความสามารถในการปกป้องข้อมูลโดยการสร้างความปลอดภัยของรหัสผ่านและการจัดการการคุกคามทางไซเบอร์ที่มีความหลากหลาย
  5. Privacy management: ความสามารถในการจัดการข้อมูลส่วนบุคลที่เผยแพร่ในโลกออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของทั้งของตนเองและของผู้อื่น
  6. Critical thinking: ความสามารถในการจำแนกข้อมูลที่เป็นจริงและข้อมูลที่เป็นเท็จ เนื้อหาที่ดีและเนื้อหาที่เป็นอันตราย และการติดต่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือและน่าสงสัย
  7. Digital footprints: ความสามารถในการทำความเข้าใจธรรมชาติของร่องรอยทางดิจิทัล ผลกระทบของร่องรอยทางดิจิทัลที่มีต่อชีวิตจริง และจัดการร่องรอยทางดิจิทัลด้วยความรับผิดชอบ
  8. Digital empathy: ความสามารถในการแสดงออกถึงความใส่ใจในความรู้สึกและความต้องการในโลกออนไลน์ทั้งของตนเองและของผู้อื่น

โดย อนุชา โสมาบุตร sanucha@kku.ac.th

Learning Model, The 21st Century Learning, Uncategorized

Learning with Facebook: Active Learning through Facebook Emotions

ในซี่รี่ย์นี้อยากจะเขียนถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนเผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านอื่นๆ ในการใช้ Facebook เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งจะว่าไปทีละ  Feature ของ Facebook ซึ่งในบทความแรกนี้จะเขียนถึงการใช้ Emotions เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรม อ่านเพิ่มเติม “Learning with Facebook: Active Learning through Facebook Emotions”

Learning Theories, Uncategorized

การเรียนรู้คืออะไร? What is learning?

การเรียนรู้ เป็นคำที่เราได้ยินอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวงการการศึกษา อาจจะได้ยินคำว่า “การเรียนรู้” อยู่นับครั้งไม่ถ้วนในหนึ่งวันของการทำงานตามบริบทของการพูดหรือการกล่าวถึง หากเรานึกย้อนกลับไป เราได้ยินคำว่าการเรียนรู้ครั้งสุดท้าย เมื่อใด และเราให้คำนิยาม หรือเข้าใจคำว่า การเรียนรู้ ว่าอย่างไร และต่างบริบทกัน เราเองนิยามคำว่าการเรียนรู้เหมือนกันทุกครั้งหรือไม่ นอกจากนั้น หากเราใช้คำว่า การเรียนรู้ สืบค้นใน Google จะปรากฏความหมายที่หลากหลาย

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเกี่ยวกับการเรียนการสอนแล้ว เราสอนเพื่อให้ นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดหรือทักษะที่มีความจำเป็นสำคัญ ซึ่งครูต้องการถ่ายโยงความรู้ (knowledge transfer) และทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับโลกปัจจุบันให้นักเรียน เพื่อให้นักเรียนจะได้นำความรู้หรือทักษะนั้นไปใช้ในชีวิตประจำวัน ด้านวิชาการ และในการประกอบอาชีพ ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ครูจำเป็นต้องมีขั้นตอนหรือกระบวนการในการถ่ายโยงความรู้ด้วยความเข้าใจอย่างลึกเกี่ยวกับการเรียนรู้ ซึ่งจะสามารถทำให้การวางแผนและใช้วิธีการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสม อันจะทำให้การเรียนรู้ประสบความสำเร็จ โดยในฐานะ เช่นเดียวกับสถาปนิกที่จะต้องเข้าใจคุณสมบัติของไม้ เหล็ก และกระจก และวัตถุประสงค์ของตึก อาคารหรือสิ่งก่อสร้างก่อนที่จะลงมือออกแบบ ซึ่งก็เช่นเดียวกับครู ที่จะต้องเข้าใจองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนรู้

อ่านเพิ่มเติม “การเรียนรู้คืออะไร? What is learning?”

The 21st Century Learning

7 Tips for Creating a 21st Century Learners

Constructivism…project-based instruction…inquiry….
Investigative learning inspires, engages, & motivates students to learn. 
Below, are some tips to promote learning inside & outside of the classroom.

  1. Encourage QUESTION ASKING then support students as they seek their own knowledge.
  2. Make CONNECTIONS Make sure students understand theRELEVANCE to the learning they are about to experience. Their attention & imagination needs to be captured! Their role in building the future needs to be addressed throughout their educational experience.
  3. Incorporate LIFE-LONG LEARNING SKILLS – Encourage creativity, collaboration, higher-order thinking, self-direction, …..& other 21st Century skills.
  4. DIFFERENTIATE INSTRUCTION – No two people learn alike or have the same strengths.
  5. Be a FACILITATOR rather than an instructor. In the 21stCentury interactive environment, teachers become “guides on the side”, ready to support student learning by creating an atmosphere that encourages learning by doing.
  6. Since learning takes place through social interaction, find a way to BUILD a LEARNING COMMUNITY, that includes all stakeholders, to surrounds the students with support. Remember the old saying, “It takes a village …” ? It truly does.
  7. Value alternatives to traditional forms/measures ofASSESSMENTSUse & value formative assessments as well as.
The 21st Century Learning

แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21

โดย อนุชา โสมาบุตร

1) การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการพัฒนาสมรรถนะสำหรับทักษะในศตวรรษที่ 21  2) การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้แนวใหม่ และ 3) การใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการสนับสนุนระบบการศึกษาที่เข้มแข็ง

อ่านเพิ่มเติม “แนวคิดในการใช้เทคโนโลยีอย่างครบวงจรในการส่งเสริมการศึกษาในศตวรรษที่ 21”

Learning Model, Learning Theories, The 21st Century Learning

การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (1)

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

bill-gates-on-constructivism-ver-02-tgหากจะว่าไปแล้วมีครูและนักการศึกษาบางส่วนที่ยังนึกไม่ออกว่า เมื่อมีทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (หรือทฤษฎีการสร้างความรู้ก็เรียก) จะนำไปเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้อย่างไร ผู้เขียนได้เคยเขียนเกี่ยวกับทฤษฎีนี้มาแล้ว [อ่านเพิ่มเติม] โดยได้เสนอว่า ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์แบ่งเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญา ว่าด้วยการสร้างความรู้โดยอธิบายจากแนวคิดกระบวนการทางปัญญา และทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม โดยอธิบายการสร้างความรู้ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม คำถามต่อมาคือจะนำแนวคิดใดไปใช้บ้าง หรืออย่างใดอย่างหนึ่งได้หรือไม่ โดยความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองกลุ่มแนวคิดนี้มิได้มีแนวคิดที่ขัดแย้งกันเพียงแต่อธิบายคนละพื้นฐานเท่านั้นเอง หากแต่ทั้งสองได้มุ่งอธิบายกลไลการสร้างความรู้ของบุคคลเช่นเดียวกัน โดยในบทความนี้จะเสนอแนะแนวทางในการทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เชิงปัญญามาเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ อ่านเพิ่มเติม “การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (1)”

Learning Theories

ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory)

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

สาระสำคัญของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

ทฤษฎีที่นำมาเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความรู้ของผู้เรียน คือ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์  (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ของผู้เรียน ซึ่งถ้าพิจารณาจากรากศัพท์ “Construct” แปลว่า “สร้าง” โดยในที่นี้หมายถึงการสร้างความรู้โดยผู้เรียนนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม “ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory)”

The 21st Century Learning

ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21  (21st Century Support Systems) เป็นปัจจัยสนับสนุนที่จะทาให้ผู้เรียนเกิดประสิทธิภาพสูงสุดทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตามโมเดลที่กล่าวถึง ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญจะประกอบไปด้วย

  1. มาตรฐานในศตวรรษที่ 21 (21st Century Standards) จุดเน้น (1) เน้นทักษะ ความรู้และความเชี่ยวชาญที่เกิดกับผู้เรียน (2). สร้างความรู้ความเข้าใจในการเรียนในเชิงสหวิทยาการระหว่างวิชาหลักที่เป็นจุดเน้น (3) มุ่งเน้นการสร้างความรู้และเข้าใจในเชิงลึกมากกว่าการสร้างความรู้แบบผิวเผิน (4) ยกระดับความสามารถผู้เรียนด้วยการให้ข้อมูลที่เป็นจริง การใช้สื่อหรือเครื่องมือที่มีคุณภาพจากการเรียนรู้ในสถานศึกษา การทางานและในการดารงชีวิตประจาวัน ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายและสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และ (5) ใช้หลักการวัดประเมินผลที่มีคุณภาพระดับสูง อ่านเพิ่มเติม “ระบบสนับสนุนการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21”
The 21st Century Learning

ทักษะชีวิตและงานอาชีพ สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

ทักษะชีวิตและงานอาชีพ (Life and Career Skills) ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้

1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) ได้แก่

1.1) การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง (Adapt to Change) โดย (1) ปรับตัวตามบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและบริบทตามช่วงเวลาที่กำหนด และ (2) ปรับตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงบรรยากาศของการทำงานในองค์กรที่ดีขึ้น อ่านเพิ่มเติม “ทักษะชีวิตและงานอาชีพ สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21”

The 21st Century Learning

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

โดย ดร.อนุชา โสมาบุตร

ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (Information, Media and Technology Skills) ได้แก่ องค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้

1) การรู้เท่าทันสารสนเทศ (Information Literacy) ประกอบด้วย

1.1) การเข้าถึงและการประเมินสารสนเทศ (Access and Evaluate Information) โดย (1) เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ด้านเวลา) และเกิดประสิทธิผล (แหล่งข้อมูลสารสนเทศ) และ (2) ประเมินสารสนเทศได้อย่างมีวิจารณญาณตามสมรรถนะที่เกิดขึ้น อ่านเพิ่มเติม “ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21”